ทำไมต้องจ่ายค่าส่วนกลางของหมู่บ้าน หรือคอนโด ทั้งๆที่เราซื้อแล้ว ??? แน่นอนว่านี่คือคำถามที่หลายคนที่กำลังจะซื้อบ้าน หรือ คนที่มีที่อยู้อาศัยไม่ว่าจเป็นบ้านจัดสรร หรือ คอนโดก็ตาม โปรบ้านมีคำตอบให้คะ
ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า ผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะทำการจัดสรรที่ดิน เพื่อจำหน่ายให้กับบุคคลทั่วไปตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไปต้องขออนุญาตจัดสรรที่ดินตามที่กฎหมายกำหนดและจำหน่ายให้กับลูกค้าแล้ว 50% ขึ้นไปก็สามารถแจ้งให้ลูกค้าคือผู้ซื้อบ้านจัดตั้งเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้และเมื่อลูกค้าจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้เรียบร้อยแล้ว ก็จะต้องมีการเลือกตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านมาเป็นตัวแทนสมาชิกและต้องกำหนดการจัดเก็บค่าส่วนกลางด้วย เหตุผลก็คือ เมื่อหมู่บ้านใดจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้วสาธารณูปโภคส่วนกลาง เช่น ถนน สวน สโมสร สระว่ายน้ำ เป็นต้น จะตกเป็นทรัพย์สินของหมู่บ้าน หน้าที่ในการดูแลบำรุงรักษาสาธารณูปโภคดังกล่าว จึงตกเป็นของลูกบ้านในหมู่บ้านนั้นๆ มิได้เป็นทรัพย์สินสาธารณะ หรือองค์กรอื่นๆ ของรัฐ รัฐจึงไม่มีหน้าที่ในการดูแลบำรุงรักษา เพราะเป็นทรัพย์สินของเอกชน ลูกบ้านที่อยู่ในหมู่บ้าน จึงมีหน้าที่ในการดูแลบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายประจำเดือน เช่น ค่ายาม ค่าบริหารจัดการ ค่าคนดูแลสวน ค่าแม่บ้าน ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา เป็นต้น โดยเฉลี่ยประมาณเดือนละ 2-3 แสน/เดือน แล้วแต่ขนาดของหมู่บ้าน ดังนั้น การที่เราจะรู้ว่ามีค่าใช้จ่ายเดือนละเท่าไร ก็ต้องคำนวณมาจากค่าบริการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นว่าเกิดขึ้นเดือนละเท่าไร วิธีการคำนวณก็เอาค่าใช้จ่ายที่เราคำนวณมาตั้งแล้วหารด้วยพื้นที่ของบ้านแต่ละหลังเป็นตารางวา ก็จะออกมาต่อหน่วยละเท่าไร ใครมีพื้นที่มากก็จะจ่ายมากใครมีพื้นที่น้อยก็จะจ่ายน้อย ยกตัวอย่าง หมู่บ้าน ก. มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นเดือนละ 2 แสนบาท มีพื้นที่ของบ้านแปลงย่อยทั้งหมด 1 หมื่นตารางวา ก็จัดเก็บค่าส่วนกลางตารางวาละ 20 บาท/เดือน เป็นต้น ถ้าเราไม่จ่ายก็จะมีค่าปรับเงินเพิ่มหรืองดให้บริการบางอย่างตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ แต่เหตุผลหลักที่มีการจัดเก็บก็เพราะว่าถ้าไม่มีการจัดเก็บค่าส่วนกลางแล้วจะเอางบประมาณที่ไหนมาดูแลทรัพย์สินดังกล่าว มูลค่าหมู่บ้านก็จะลดลง เมื่อทุกท่านทราบอย่างนี้แล้วอย่ารอช้าอยู่ไย รีบไปชำระเลยครับหมู่บ้านของเราจะได้ดูดีมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เรียกว่าอยู่นาน มูลค่าก็เพิ่มเป็นทวีคูณ
ขอบคุณข้อมูลที่มา posttoday